2.7 การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต


ประโยชน์ของธาตุ

กัมมันตรังสี

ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
  1. ด้านธรณีวิทยา  มีการใช้ C-14 คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ หรืออายุของซากดึกดำบรรพ์ซึ่งหาได้ดังนี้ ในบรรยากาศมี C-14 ซึ่งเกิดจากไนโตรเจน รวมตัวกับนิวตรอนจากรังสีคอสมิกจนเกิดปฏิกิริยา แล้ว C-14 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน แล้วผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และสัตว์กินพืช คนกินสัตว์และพืช ในขณะที่พืชหรือสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ C-14 จะถูกรับเข้าไปและขับออกตลอดเวลา เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง การรับ C-14 ก็จะสิ้นสุดลงและมีการสลายตัวทำให้ปริมาณลดลงเรื่อยๆ ตามครึ่งชีวิตของ C-14 ซึ่งเท่ากับ 5730 ปี
     ดังนั้น ถ้าทราบอัตราการสลายตัวของ C-14 ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และทราบอัตราการสลายตัวในขณะที่ต้องการคำนวณอายุวัตถุนั้น ก็สามารถทำนายอายุได้ เช่น ซากสัตว์โบราณชนิดหนึ่งมีอัตราการสลายตัวของ C-14 ลดลงไปครึ่งหนึ่งจากของเดิมขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เนื่องจาก C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี จึงอาจสรุปได้ว่าซากสัตว์โบราณชนิดนั้นมีอายุประมาณ 5730 ปี
  1. ด้านการแพทย์ ใช้รักษาโรคมะเร็ง ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด กระทำได้โดยการฉายรังสีแกมมาที่ได้จาก โคบอลต์-60 เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วยังใช้โซเดียม-24 ที่อยู่ในรูปของ NaCl ฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อตรวจการไหลเวียนของโลหิต โดย โซเดียม-24จะสลายให้รังสีบีตาซึ่งสามารถตรวจวัดได้ และสามารถบอกได้ว่ามีการตีบตันของเส้นเลือดหรือไม่
  2. ด้านเกษตรกรรม มีการใช้ธาตุกัมมันตรังสีติดตามระยะเวลาการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช โดยเริ่มต้นจากการดูดซึมที่รากจนกระทั่งถึงการคายออกที่ใบ หรือใช้ศึกษาความต้องการแร่ธาตุของพืช
  3. ด้านอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นโลหะ จะใช้ประโยชน์จากกัมมันตภาพรังสีในการควบคุมการรีดแผ่นโลหะ เพื่อให้ได้ความหนาสม่ำเสมอตลอดแผ่น โดยใช้รังสีบีตายิงผ่านแนวตั้งฉากกับแผ่นโลหะที่รีดแล้ว แล้ววัดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านแผ่นโลหะออกมาด้วยเครื่องวัดรังสี ถ้าความหนาของแผ่นโลหะที่รีดแล้วผิดไปจากความหนาที่ตั้งไว้ เครื่องวัดรังสีจะส่งสัญญาณไปควบคุมความหนา โดยสั่งให้มอเตอร์กดหรือผ่อนลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ
     ในอุตสาหกรรมการผลิตถังแก๊ส อุตสาหกรรมก่อสร้าง การเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันหรือแก๊สจำเป็นต้องตรวจสอบความเรียบร้อยในการเชื่อต่อโลหะ เพื่อต้องการดูว่าการเชื่อมต่อนั้นเหนียวแน่นดีหรือไม่ วิธีการตรวจสอบทำได้โดยใช้รังสีแกมมายิงผ่านบริเวณการเชื่อมต่อ ซึ่งอีกด้านหนึ่งจะมีฟิล์มมารับรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านออกมา ภาพการเชื่อมต่อที่ปรากฏบนฟิล์ม จะสามารถบอกได้ว่าการเชื่อมต่อนั้นเรียบร้อยหรือไม่

โทษของธาตุกัมมันตรังสี

โทษของธาตุกัมมันตรังสี
     1. ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้
ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า
โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก
     2. ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี
เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ
ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
     1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก
แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน
2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา
ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า
ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb)
เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี
     1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14 (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
     2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131)
ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60)
และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
     3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32)
ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ
และใช้โพแทสเซียม-32 (K-32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
     4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น
รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ
ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ
ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
     5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co-60)
ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร
จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
     6. ด้านพลังงานมีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238
(U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน
เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
สารกัมมันตรังสี (Radioactivity)
     คือ รังสีที่แผ่ออกมาได้จากธาตุบางชนิด ส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติ และส่วนหนึ่งเกิดจากฝีมือมนุษย์ สารกัมมันตรังสีที่สลายตัวนี้ จะปะปนในสิ่งแวดล้อมทั่วไป บางกรณีมาจากรังสีในอวกาศ เช่น จากดาว (Star) รวมถึงดวงอาทิตย์ (Sun) ดังนั้นห้วงอวกาศ จึงมีรังสีแผ่การะจายไปทั่วจักรวาลมากมาย เช่น รังสีคอสมิก (Cosmic ray) โดยวิ่งเข้าสู่โลกตลอดเวลา ในลักษณ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือกระแสอนุภาคที่มีความเร็วสูง
     ทั้งนี้คำว่า กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) คือจำนวนของไอโซโทปรังสีซึ่งอยู่ในสถานะไม่คงตัว และมีการสลายตัวให้รังสีออกมาในช่วง เวลาหนึ่งวินาที
     ส่วนคำว่า รังสี (Radiation) คือ อนุภาคซึ่งมีพลังงาน โดยมีที่มาจากการสลายตัวของไอโซโทปรังสี จากรังสีคอสมิค และจากเครื่องเร่งอนุภาค พลังงานของรังสีขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด เช่น รังสีเบตา จากสตรอนเชียม-90 มีพลังงานสูงสุดเท่ากับ 546 keV รังสีแกมมาจาก โคบอลต์-60 มีพลังงาน 1.17 และ 1.33 MeVเป็นต้น
ตารางแสดงการสัมผัสรังสี ของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน
ตามหลักเกณฑ์ของ Stephen A. mcGuire – Carol A. Peabody USA 1982
——————————————————————————-
โดยทั่วไปมนุษย์ อาจมีโอกาสรับรังสีจากสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ
และจากสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ได้ดังนี้
แหล่งที่มาของรังสอัตราการสัมผัส (มิลลิเร็ม/ปี)
รังสีจากอวกาศ (Cosmic ray)28
จากวัสดุก่อสร้าง เช่น สี โลหะ4
จากร่างกายมนุษย์25
จากพื้นดิน สินแร่25
จากการรักษาทางการแพทย์90
จากฝุ่นการทดลอง ระเบิดนิวเคลียร์5
จากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์0.3
จากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น T.V.1
178.3

     แท้จริงแล้ว สารกัมมันตรังสีเหล่านี้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เมื่อมีปริมาณที่หมาะสมทำให้เกิดประโยชน์ คือ สิ่งมีชีวิต\เจริญเติบโต มีอายุยืนยาวขึ้น และมีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ (Mutation) ที่ดีในเชิงบวก
     แหล่งที่ก่อให้เกิดรังสีมากที่สุดจากธรรมชาติ เช่น จากสารกัมมันตรังสีที่มีในพื้นดินที่มีสินแร่ (Mineral) ซึ่งอากาศที่มนุษย์หายใจ อาหารที่มนุษย์บริโภคและน้ำมีการเจือปนด้วย สารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ แต่ทั้งหมดมีค่าเจือจางมักจะไม่มีอันตรายต่อมนุษย์
     แหล่งกำเนิดรังสีที่มาจาก การกระทำของมนุษย์มีหลายรูปแบบ เช่น จากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ รวมทั้งการผลิตสารกัมมันตรังสีจาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่างๆ
     โดยกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) เป็นคุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุหรือไอโซโทปอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการปลดปล่อย หรือส่งรังสีออกมา ด้วยรังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลายตัวของธาตุหรือไอโซโทป ประกอบด้วย รังสีแอลฟา, รังสีเบต้าและรังสีแกมมา
     รังสีแอลฟา (Alpha Ray ) ความเร็วต่ำ อำนาจทะลุทะลวงน้อย มีพลังงานสูงประกอบด้วยอนุภาคแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีมวล 4 amu มีประจุ +2 อนุภาคชนิดนี้ จะถูกกั้นไว้ด้วยแผ่นกระดาษ หรือเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของมนุษย์ได้
     รังสีเบต้า (Beta Ray) มีความเร็วสูงมากใกล้เคียงกับความเร็วแสง ประกอบด้วยอนุภาคอิเลคตรอนหรือโพสิตรอน มีคุณสมบัติทะลุทะลวงตัวกลางได้ดีกว่ารังสีแอลฟา โดยสามารถทะลุผ่านน้ำที่ลึกประมาณ 1 นิ้ว รังสีเบต้าจะต้องถูกกั้นได้โดยใช้แผ่นอะลูมิเนียม ชนิดบาง
     รังสีแกมมา (Gamma Ray) ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ สามารถทะลุผ่านร่างกายและทำอันตรายเนื้อเยื่อได้ การกำบังรังสีแกมมา ต้องใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูงเช่น ตะกั่วหรือยูเรเนียม เป็นต้น
ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย
International Commission on Radiological Protection (ICRP)
———————————————————————-
ขององค์การสากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี
ปริมาณรังสี(มิลลิซีเวิร์ต)เกณฑ์ /แสดงอาการ
2.2ระดับรังสีปกติในธรรมชาติ
ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี
5เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้สาธารณชน
ได้รับใน 1 ปี
50เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงาน
ทางรังสีได้รับใน 1 ปี
250ไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
500เม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย
1000มีอาการคลื่นเหียน และอ่อนเพลีย
เม็ดเลือดขาวลดลง
3000อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย
เม็ดเลือดขาวลดลง ผมร่วง เบื่ออาหาร
ตัวซีด คอแห้ง มีไข้ อายุสั้น
อาจเสียชีวิตภายใน 3-6 สัปดาห์
6000อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วงภายใน
1-2 ชั่วโมง เม็ดเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว
ผมร่วง มีไข้อักเสบบริเวณปาก
และลำคออย่างรุนแรง มีเลือดออก
มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% ภายใน 2-6 สัปดาห์
10000มีอาการเหมือนข้างต้น ผิวหนังพองบวม
ผมร่วง เสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์
อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) หรือรังสี (Radiation)
ผลของรังสีต่อโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต
     ร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะ มนุษย์และสัตว์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือน้ำ ประมาณ 75% สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ประมาณ 25% ของน้ำหนักร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับรังสีประเภทก่อให้ เกิดไอออน เช่น รังสีแกมมา หรือเอกซเรย์
จะไปทำให้โมเลกุล เช่น ของน้ำเปลี่ยนแปลง
     อนุมูลต่างๆที่เกิดขึ้น มักมีคุณสมบัติไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี กับสารประกอบอื่นๆจึงสามารถ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ของร่างกายได้ สำหรับโมเลกุลของสารประกอบประเภทสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ก็จะเกิดการแยกตัวเป็นอนุมูลอิสระ และสามารถสร้างความเสียหายต่อเซลล์ร่างกาย ได้เช่นกัน
ผลของรังสีต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ
     เมื่อโมเลกุลและเซลล์ได้รับความเสียหาย ก็จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะ ก่อให้เกิดอาการต่างๆ อาการจากการได้รับรังสีไม่มีลักษณะเฉพาะตัว จะไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยได้ รับรังสีหากดูจากอาการเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการซักประวัติร่วมด้วยรังสีมีผลต่อเนื้อเยื่อและ อวัยวะต่างๆ
อาการจากการได้รับรังสีทั่วร่างกาย
     ในผู้ใหญ่ ข้อมูลที่ได้จากการใช้ระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ การทดสอบกับสัตว์ทดลอง และการใช้รังสีทางการแพทย์ ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มอาการจากการได้รับรังสี ทั่วร่างออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
     1.กลุ่มอาการทางระบบเลือด
     2.กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร
     3.กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง
โดยกลุ่มอาการเหล่านี้จะปรากฏเมื่อการได้รับรังสีอยู่ภายใต้
เงื่อนไข 3 ประการดังนี้
     1.ได้รับรังสีภายในระยะเวลาสั้นๆ (นาที)
     2. ทั่วร่างได้รับรังสี
     3. ต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย และรังสีเป็นชนิดที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง
ขีดจำกัดขนาดของรังสีขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล
*กรณีได้รับสัมผัสรังสีตลอดทั้งร่างกาย*
ปริมาณรังสี(มิลลิซีเวิร์ต)อาการที่ปรากฏ
0-25ไม่ปรากฏแน่ชัด
25-50มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดโลหิต
50-100เม็ดโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย
อาเจียน ไม่มีความพิการปรากฏ
100-200มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น มีความพิการ
200-400มีการเจ็บป่วยทางรังสี มีความพิการ
หรืออาจเสียชีวิตได้
400โอกาสรอดชีวิต 50 เปอร์เซนต์
มากกว่า 400โอกาสเสียชีวิตสูง
การป้องกันอันตรายจากรังสี
     การป้องกันอันตรายจากรังสีจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารองค์กรความปลอดภัย (Safety organization) ให้ มีประสิทธิภาพสูง และประกอบกับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีในหน่วยงานนั้น ตลอดจนผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ จะต้องร่วมมือกัน ให้การสนับสนุน และให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนติดตามการจัดการในทุกระดับชั้นอย่างระมัดระวัง โดยอาศัยมาตรการต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. การประเมินอันตราย (Hazard evaluation)
     การประเมินอันตรายเป็นขั้นตอนสำคัญ ในการกำหนดโครงการความปลอดภัยทางรังสี เราจะต้องทราบความเป็นมาและขอบเขตของอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพ ในการปฏิบัติการใดๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดรังสี บนรากฐานเกี่ยวกับการประเมินอันตรายจากรังสีนี้ สถานที่ปฏิบัติการทางรังสี จะต้องมีการวางแผนการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นอย่างดี ตลอดจนวางระเบียบปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับสารรังสี เพื่อให้แน่ใจได้ว่าระดับของปริมาณรังสี (Radiation dose) และความเข้มข้นของสารรังสีที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศและในน้ำอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่ว่าในกรณีใดๆ จะไม่เกินค่าสูงสุดที่ยอมรับได้ (Maximum permissible values) ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมาธิการนานาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอันตรายจากรังสี (International Commission on Radiological Protection, ICRP) ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ และทบทวนปรับปรุงระดับค่าต่างๆ ของวัสดุกัมมันตรังสีในน้ำและอากาศอยู่เสมอเป็นระยะๆ ความเจริญก้าวหน้าของวิชาการต่างๆ และข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับมา ค่าต่างๆ เหล่านี้ได้มีการกำหนดค่าไว้สำหรับกลุ่มบุคคลสองกลุ่ม คือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารรังสี และประชาชนทั่วไป โดยถือว่าถ้าร่างกายของคนทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับรังสี หรือวัสดุกัมมันตรังสีเข้าไป ไม่เกินค่าที่ ICRP กำหนดไว้สำหรับธาตุทางรังสีแต่ละตัวแล้ว ความเสี่ยงอันตรายต่อภัยทางรังสี หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของบุคคลนั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับกันได้ และได้นำค่าตัวเลขเหล่านี้มาใช้เป็นข้อมูลขั้นพื้นฐาน ในการออกแบบสถานที่ปฏิบัติการทางรังสี การพัฒนาระเบียบปฏิบัติการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ICRP ยังได้แนะนำว่า การได้รับรังสีทั้งหลายควรจะรักษาให้อยู่ในขีดจำกัดต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ระดับรังสีสูงสุดอันเป็นที่ยอมรับกันได้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผน แต่ไม่ควรถือว่าเป็นระดับที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีสามารถรับได้เป็นประจำ ซึ่งผิดเจตนารมณ์ที่แท้จริง ในทางปฏิบัติแล้วผู้ปฏิบัติงานทางรังสีจะต้องพยายามให้ตัวเองและผู้อื่นได้รับรังสี น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อโต้แย้งในทางกฎหมาย การใช้คำว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้รับได้ (Maximum permissible levels)นั้น ประกอบกับปัญหาในแง่ของจิตวิทยาแล้ว ถ้าใครได้รับรับรังสีมีค่าเกินค่าที่ ICRP ได้กำหนดไว้ จะต้องอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตราย ซึ่งจะไม่เป็นความจริง ดังนั้นในการยกร่างเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางกฎหมาย ให้เลี่ยงไปใช้คำว่า ขีดจำกัดในการปฏิบัติการหรือปริมาณรังสีอันเป็นที่ยอมรับได้ (Operational limits or acceptable dose) แทน ดูจะเหมาะสมกว่า
  1. การออกแบบสถานที่ปฏิบัติการหรืออุปกรณ์ (Design of installations or devices)
     ในการออกแบบสถานที่ปฏิบัติการหรืออุปกรณ์ สำหรับใช้เกี่ยวกับต้นกำเนิดรังสีด้วยความระมัดระวัง ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ในการ ป้องกันอันตรายจากรังสี โดยให้มีการผนวกเอาระบบของความปลอดภัย และการป้องกันอันตรายจากรังสีเข้าไว้ในแผน การออกแบบก่อสร้างสถานปฏิบัติการหรืออุปกรณ์ อันเป็นการลดอิทธิพลความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานสูงกว่าปกติ ระบบของความปลอดภัยที่จะใช้ในการออกแบบจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับลักษณะของงาน ที่ทำ เช่น ถ้าในกรณีที่มีการใช้ต้นกำเนิดรังสีที่มีความแรงรังสีสูงมากในทางการแพทย์ หรืออุตสาหกรรม ระบบของความปลอดภัยก็ย่อมต้องมีสูงตามไปด้วย และจะลดระดับลงถ้าใช้ต้นกำเนิดรังสีที่มีความแรงรังสีต่ำลงมา ดังนั้นจึงต้องมีการยกร่างระเบียบปฏิบัติอย่างระมัดระวัง และการควบคุมทางการบริหารที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย
     การออกแบบสถานที่ปฏิบัติการ รวมทั้งทำเลที่ตั้ง การวางผัง และการกำบังรังสีพื้นที่บริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน ในการที่จะบรรลุการออก แบบที่เหมาะสม จะต้องมีการพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายองค์ประกอบ รวมทั้งประเภทและความแรงของต้นกำเนิดรังสีที่จะใช้ในระยะแรก และเผื่อไว้สำหรับในอนาคตที่อาจจะมีการขยายการใช้เพิ่มขึ้นด้วย
หลักสามประการในการป้องกันอันตรายจากรังสีคือ
     1) เวลา การปฏิบัติงานทางด้านรังสีต้องใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายได้รับรังสีเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับบุคคล
     2) ระยะทาง ความเข้มของรังสีจะเปลี่ยนแปลงลดลงไปตามระยะทางจากสารต้นกำเนิดรังสี สำหรับต้นกำเนิดรังสีที่เป็นจุดเล็กๆ ความเข้มจะลดลงเป็นสัดส่วนกลับกับระยะทางยกกำลังสอง
     3) เครื่องกำบัง ความเข้มของรังสีเมื่อผ่านเครื่องกำบังจะลดลง แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังงานของรังสี คุณสมบัติ ความหนาแน่น และ ความหนาของวัตถุที่ใช้
เครื่องวัดรังสี
     เครื่องวัดรังสีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ เครื่องสำรวจรังสี เครื่องบันทึกรังสีประจำตัวบุคคล เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลชนิดเตือนภัย และเครื่องตรวจวัดรังสีประจำที่
เครื่องสำรวจรังสี
     เป็นเครื่องตรวจหารังสีที่ใช้แบตเตอรี สะดวกต่อการพกพา เช่น Geiger Muller และ Ionization Chamber
เครื่องบันทึกรังสีประจำตัวบุคคล
     เป็นเครื่องมือบันทึกปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านรังสีจำเป็นต้องพกติดตัว มีหลายชนิด เช่น pocket dosimeter, film badge, thermoluminescent dosimeter (TLD)
เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลแบบเตือนภัย
     เป็นเครื่องวัดสำหรับพกพาติดตัว จะส่งเสียงหรือแสง เพื่อเตือนให้ทราบเมื่อระดับรังสีสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ในเครื่อง
เครื่องตรวจรังสีประจำที่
     เป็นเครื่องวัดรังสีชนิดติดตั้งประจำที่ เมื่อตรวจพบรังสีที่สูงกว่าค่าที่กำหนดไว้จะส่งเสียงและแสงเตือน

ที่มา:krusarawut.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนผัก-ผลไม้พบ "พริกแดง-ส้มสายน้ำผึ้ง-ฝรั่ง" สารพิษตกค้างมากสุด

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เปิดเผยผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภค พบว่า พริกแดง มี...